Reading article in: English - Thai
By Christian Barker | Translated by Onnutcha Naknawaphan
ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ความล้ำค่า และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ มันไม่แปลกเลยที่ ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek Philippe) จะถูกยกย่องเป็นที่หนึ่งในอาณาจักรเครื่องบอกเวลา
เรามาดู 8 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจที่ตกทอดกันมาในตระกูลนี่ไปถึงจุดสูงสุดของศาสตร์แห่งการประดิษฐ์เรือนบอกเวลาที่รังสรรค์นาฬิกาที่ควรค่าแก่การสะสม และเป็นที่ปราถนาจากทั่วทุกมุมโลก
1.Patek Philippe คือผู้คิดค้นนาฬิกาข้อมือเรือนแรกในประวัติศาสตร์!
แต่เดิมแล้วในปลายทศวรรษที่ 19 สุภาพบุรุษส่วนใหญ่ใช้นาฬิกาพกติดตัว ในขณะที่สุภาพสตรีสวมใส่เรือนบอกเวลาที่เป็นจี้หรือเข็มกลัด
ในปี1868 ภายใต้คำสั่งของ ท่านหญิง โคชโควิสซ์ (Koscowicz) แห่งฮังการี ปาเต็ก ฟิลิปป์ ได้รังสรรค์นาฬิกาไกจักรกลที่มีขนาดเล็ก และได้ฝังมันลงไปในกำไลข้อมือทอง โดยที่ทางปาเต็ก ฟิลิปป์ ได้ใช้เทคนิคขั้นสูงที่ทำให้สามารถประดิษฐ์นาฬิกาพกที่มีขนาดเล็กที่สุดในสมัยนั้นได้ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ใน 10 ของ1นิ้ว) ซึ่งเคยถูกนำไปจัดแสดงที่งาน Great Exhibition ประเทศลอนดอน ในปี 1851 ปีเดียวกันกับที่ Patek Philippe & Cie ได้ถูกก่อตั้งขึ้น
2. ตัวเลือกของราชวงศ์
ในระหว่างการจัดแสดงที่ Great Exhibition เมื่อปี 1851 สมเด็จพระราชินีวิคตอเรียประทับใจในตัวนาฬิกาของปาเต็ก ฟิลิปป์เป็นอย่างมาก และได้ซื้อนาฬิกาเข็มกลัดเรือนหนึ่งสำหรับตัวเอง และนาฬิกาพกอีกเรือนหนึ่งสำหรับเจ้าชายอัลเฟรดพระคู่หมั้นของนาง
พระนางได้กลายเป็นคนแรกๆในรายชื่อบรรดาราชวงศ์ที่สะสมนาฬิกาของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ ส่วนรายชื่ออื่นๆบนลิสต์นี้ก็ได้แก่ กษัตริย์ ฟารุค แห่งอียิป (King Farouk of Egypt), สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่ง เกาะอังกฤษ (Queen Elizabeth II), สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย (Haile Selassie I), พระราชา อับดุล อาซิซ แห่งซาอุ (Abdul Aziz of Saudi Arabia), สมเด็จพระราชินี ลูอิส แห่งเดนมาร์ก (Queen Louise of Denmark) และ สมเด็จพระราชินี มาเรีย เปีย แห่ง โปรตุเกส (Queen Maria Pia of Portugal)
สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 ขณะสวมใส่นาฬิกาข้อมือ ปาเต็ก ฟิลิปป์ รุ่น Golden Ellipse ป็นที่ทราบกันว่าราชวงศ์อังกฤษนั้นโปรดปรานนาฬิกาของปาเต็ก ฟิลิปป์ โดยที่ในปี1851 สมเด็จพระราชนีวิคตอเรียและพระสวามีของพระองค์คือราชวงศ์สองคนแรกที่ริเริ่มใข้นาฬิกาของแบรนด์นี้
หลังจากหายสาบสูญอยู่หลายปี นาฬิกาพกของเจ้าชายอัลเฟรดก็ถูกพบอีกครั้งในปี 2015 เมื่อเจ้าของคนปัจุบันซึ่งซื้อตัวนาฬิกามาเมื่อช่วงปี 1970s ในราคาเพียง 309 ปอนด์ ได้นำตัวเรือนนาฬิกาพกมาให้ทางแบรนด์ประเมินค่าในงานนิทัศการการจัดแสดงโชว์ปาเต็ก ฟิลิปป์ รุ่นคลาสสิคที่กรุงลอนดอน และคงรู้สึกประหลาดปนดีใจเป็นอย่างมากเมื่อพบว่าเขามีสมบัติที่ไม่สามารถประเมินค่าได้อยู่ในครอบครอง
ในปีที่ผ่านมาธีมนักวิจัยของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ ได้คิดค้นสองนวัตกรรมใหม่ในศาสตร์แห่งการดีไซน์นาฬิกา และได้ทำการบรรจุมันลงในนาฬิการุ่น Aquanaut Travel Time Ref. 5650 | ที่มา | อ่านเพิ่มเติม
3. Patek Philippe คือผู้พลิกวงการนาฬิกา
หากอังตวน นอร์เบิร์ต เดอ ปาเต็ก(Antoine Norbert de Patek)คือนักดีไซน์และนักการตลาดมือหนึ่ง ฌอง-เอเดรียน ฟิลิปป์ (Jean-Adrien Philippe)คู่หูของเขาคือผู้วิเศษแห่งระบบกลไก
ฟิลิปป์มีผลงานที่มีชื่อเสียงชิ้นแรกและยังคงใช้เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมนาฬิกาจนทุกวันนี้คือ 'keyless stem-winding system' หรือ ระบบกลไลการปรับนาฬิกาจักรกลโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้กุญแจ แต่เดิมแล้วในการปรับนาฬิกาที่มีกลไกการไขลานอัตโนมัตินั้นจำเป็นต้องทำโดยใช้กุญแจในการการแกะตัวกระจก หรือด้านหลังของนาฬิกาออก ซึ่งอาจทำให้กลไกภายในต้องเจอกับฝุ่นหรือความชื้นได้ แถมกุญแจมักจะหายประจำ นวัตกรรมใหม่ของฟิลิปป์ทำให้สามารถปรับเวลาของได้ผ่านทางเม็ดมะยม โดยที่ตัวเรือนไม่จำเป็นต้องถูกเปิดออก และไม่เสี่ยงต่อความชื้นหรือฝุ่นละออง
ผลงานประดิษฐ์ของฟิลิปป์ชิ้นนี้ทำให้เขาชนะรางวัลจากงาน Products of Industry Exhibition ที่กรุงปารีสในปี 1844 และได้เข้าตาของปาเต็กเป็นอย่างมาก ซึ่งนั่นได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมงานและประวัติศาสตร์แห่งวงการเรือนบอกเวลาของทั้งคู่
4. ความซับซ้อนและฟังชั่นที่มีมากกว่าการบอกเวลา
ปาเต็ก ฟิลิปป์ คือเจ้าของนาฬิกาหลายเรือนที่มีฟังก์ชั่นความซับซ้อนในการบอกหน่วยเวลาต่างๆมากที่สุดในโลก
ไอค่อนของความมากฟั่งชั่นนี้คือ Graves Supercomplication ซึ่งเป็นรุ่นที่ถูกสั่งทำในปี1925โดย เฮนรี่ เกรฟส์ จูเนียร์ (Henry Graves Jr) นักธุรกิจร้อยล้านผู้เป็นนักสะสมตัวจริงของ Pปาเต็ก ฟิลิปป์ โดยที่นาฬิกาพกเรือนนี้ประกอบด้วยตัวฟังก์ชั่นความซับซ้อนอื่นๆนอกเหนือจากการบอกเวลามากถึง 24 กลไล และใช้เวลามากกว่า 7 ปีในการสร้าง นาฬิกาเรือนดังกล่าวได้ถูกยกย่องเป็นนาฬิกาที่ซับซ้อนและมีกลไกบอกหน่วยเวลามากสุดโดยทีไม่ได้ใช้ความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ในช่วงปี 1980 ปาเต็กได้ใช้เทคนิคขั้นสูงผสมผสานกับเทคนิคเก่าแก่เพื่อประดิษฐ์กลไกลูกเล่นต่างๆให้กับ Calibre 89 ด้วย 33 ฟังก์ชั่นความสลับซับซ้อน เข็มมากกว่า 24 เข็ม และอีกกว่า 1,728 ฟันเฟือง นาฬิการุ่น Calibre 89 ก็ได้คว้ารางวัลนาฬิกาพกที่มีฟังชั่นการบอกหน่วยเวลามากที่สุดต่อจาก รุ่น Graves Supercomplication
Grandmaster Chime คือนาฬิการุ่น limited-edition รุ่นล่าสุดของปาเต็ก ฟิลิปป์ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในนาฬิกาข้อมือที่มีลูกเล่นมากที่สุดที่เคยมีมา ประกอบด้วย 20 ฟังก์ชั่นความซับซ้อนภายในเคสสี rose-gold ขนาด 47 mm ที่ถูกแกะสลักอย่างหรูหราสวยงาม
1952 Patek Philippe Perpetual Calendar Chronograph (ทองคำเหลือง) Ref.2499 | ที่มา
5. Patek Philippe สร้างปฏิทินนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลก
ถึงแม้ชาวอังกฤษจะเป็นผู้สร้างperpetual calendar หรือนาฬิกาปฏิทิน ที่สามารถแสดงวันที่และเดือนปีได้ก่อนในศตวรรษที่ 18 แต่ปาเต็ก ฟิลิปป์เป็นผู้ผลิตรายแรกที่ได้ติดตั้งฟังก์ชั่นนี้ลงไปในนาฬิกาข้อมือ
ปาเต็ก ฟิลิปป์ได้เริ่มทำปฏิทินนาฬิกาตั้งแต่ปี 1864 โดยที่ปกติแล้วทางบริษัทจะติดตั้งกลไกปฏิทินนี้กับนาฬิกาพกเท่านั้น จนกระทั่งปี 1925 ปาเต็ก ฟิลิปป์นำกลไลperpetual calendarที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับนาฬิกาเข็มกลัดของสตรีไปติดตั้งลงในตัวเรือนนาฬิกาข้อมือขนาด 34.4mm กลายเป็นนาฬิกาข้อมือเรือนแรกที่มีปฏิทินนาฬิกาติดตั้งอยู่ด้วย ทาง Patek Philippe ได้ขายนาฬิกาเรือนนั้นให้กับนักสะสมชาวอเมริกานามว่า Thomas Emeryในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นในปี 1941 ปาเต็ก ฟิลิปป์ได้เริ่มการผลิตปฏิทินนาฬิกาข้อมืออย่างต่อเนื่อง
Patek Philippe Nautilus Moon Phase (ทองคำขาว) ฝังเพชรแบเก็ต& Ref.5724G | ที่มา
6. Patek Philippe คือการลงทุนที่สมราคา
ใครๆต่างก็พูดกันว่าวิธีเดียวที่จะไม่สร้างกำไรจากการซื้อปาเต็ก ฟิลิปป์ คือการส่งมันต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานเฉยๆ ด้วยความเป็นที่ต้องการของปาเต็ก ฟิลิปป์บ่อยครั้งที่นาฬิกาของแบรนด์ใช้เวลาไม่กี่ปีในการอัพจากราคาขายไปจนถึงราคาสูงสุด
นักสะสมที่มองการณ์ไกลมักเล็งเห็นผลประโยชน์ในระยะยาวจากการซื้อนาฬิกาของปาเต็ก ฟิลิปป์ ดูได้จากการซื้อ Calatrava ธรรมดาๆในราคาไม่กี่ร้อยเหรียญในปี 1950 แต่สามารถนำมาขายในราคามากถึง 20,000 เหรียญในปัจจุบัน หรือoriginal Nautilus ที่มีราคาประมาณ 3,000 เหรียญ ตอนเปิดตัวในช่วงปี 1970 ที่ได้เพิ่มมูลค่าขึ้นไปกว่า 50,000 เหรียญแล้ว ไม่กี่ปีที่ผ่านมา Perpetual chronographs ได้ถูกประมูลไปด้วยยอดประมูลสูงถึง 400,000 เหรียญ จากเดิมที่ถูกวางขายด้วยราคาประมาณ 20,000 เหรียญ ในช่วงปี 1980
Graves Supercomplication ที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานของผลกำไรในการลงทุนกับ ปาเต็ก ฟิลิปป์ ในช่วงปี 1920 เฮนรี่ เกรฟส์ (Henry Graves) ได้จ่ายเงินจำนวน 15,000 เหรียญ ให้กับนาฬิกาเรือนนี้ (ประมาณ 200,000 เหรียญในปัจุบัน หรือน้อยกว่านิดหน่อยหากคิดตามอัตราเงินเฟ้อ) ซึ่งในปี2014 มันได้กลายเป็นนาฬิกาที่ราคาแพงที่สุดที่เคยถูกขายหลังจากถูกประมูลไปด้วยจำนวนเงินมากกว่า 24 ล้านเหรียญ - มากกว่าราคาซื้อถึง 1,600 เท่า
Patek Philippe Chronograph World Time Ref.5930G | ที่มา
7. Patek Philippe ทุกเรือนได้รับการการันตี
ปาเต็ก ฟิลิปป์เป็นผู้ผลิตที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดอย่างแท้จริง ทุกองค์ประกอบของนาฬิกา ไม่ว่าจะเป็นสายข้อมือ กรอบ ตัวเข็ม รวมไปถึง ส่วนเล็กๆ ทุกชิ้นล้วนแต่เป็นงานที่ทำขึ้นภายในบริษัท
การควบคุมคุณภาพจะถูกบังคับอย่างเข้มงวดภายใต้ตราประทับของปาเต็ก ฟิลิปป์ ซึ่งเป็นมาตรฐานเข้มงวดที่ทางแบรนด์ตั้งขึ้นเองในปี 2009 เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีการประทับตรารับรองการตรวจสอบนาฬิกโดยเฉพาะ 'PP Seal' ของทางปาเต็ก ฟิลิปป์จึงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นมาตรฐานที่รับรองงานฝีมือที่มีความประณีตสูง รังสรรค์ขึ้นด้วยวัสดุอย่างดี และสามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรง ทั้งยังมีบริการหลังการขายและการซ่อมบำรุง ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าปาเต็ก ฟิลิปป์จะสามารถส่งต่อรุ่นสู่รุ่นได้อย่างปลอดภัย
นาฬิกาของปาเต็ก ฟิลิปป์ทุกเรือนจะมีการเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ ซึ่งสามารถค้นหาและติดตามได้ จะมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่ข้อมูลการผลิต วันที่วางขาย ไปจนถึงประวัติการเข้ารับบริการหลังการขาย ซึ่งขบวนการนี้ทางแบรนด์ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 1839 แล้ว และยังคงมารตฐานเดิมมาจนถึงทุกวันนี้
พอล บัคลิน (Paul Buclin) นักประดิษฐ์นาฬิกามือหนึ่งของ Patek Philippeขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ | ที่มา
8. Patek Philippe บอกเวลา และ ใช้เวลา
ว่ากันว่าจำนวนนาฬิกาของปาเต็ก ฟิลิปป์ที่ถูกผลิตนับตั้งแต่วันที่บริษัทเปิดตัวจนถึงทุกวันนี้มีจำนวนน้อยกว่า 1,000,000 เรือน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนที่ช่างทำนาฬิกา Swiss ระดับโลกทำใน 1 ปี เสียอีก
แล้วอะไรคือเหตุผลของการผลิตจำนวนที่จำกัดซึ่งทำให้เกิดเป็นสินค้าหายากล่ะ?
สำหรับปาเต็ก ฟิลิปป์แล้วมันคือใช้เวลาอุทิศตนเพื่อมูลค่าของผู้ผลิตอันแท้จริง การประดิษฐ์ทุกชิ้นส่วนภายในบริษัท กับการแกะสลักทุกรายละเอียดด้วยมือเพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานความสมบูรณ์แบบอันสูงสุด
The Nautilus เพิ่งฉลองครบรอบ 40 ปีเมื่อปีที่แล้ว พร้อมทั้งเปิดตัว the 44mm Flyback Chronograph Ref. 5976/1G | อ่านเพิ่มเดิม
ตัวอย่างเช่น การปัดเพิ่มความเงางามให้กับกรอบของนาฬิกาปาเต็ก ฟิลิปป์ใช้เวลากับกระบวนการนี้โดยประมาณ 2-4 ชั่วโมง ในขณะที่สร้อยข้อมือสำหรับโมเดล sporty Nautilus (มีส่วนผสมของ myriad links ซึ่งใช้เวลาประมาณเจ็ดนาทีเพื่อที่จะตัดออก) ต้องการถึง 7 ชั่วโมงในการทำ
กระบวนการการผลิตหน้าปัดนาฬิกานั้นมีมากถึง 50 ขั้นตอน และอีก 1,200 ขั้นตอนในการทำให้มันเคลื่อนไหว การจะสร้างสรรค์นาฬิกาซักเรือนต้องใช้กำลังคนมากถึง 1,000 คน
เห็นได้ชัดเลยล่ะว่า Patek Philippe ใช้เวลามหาศาลกว่าจะมาถึงจุดที่สร้างสรรค์นาฬิกาเพื่อรักษาและบอกเวลาอันแสนงดงามนี้ได้